- หมวด: ฝ่ายอำนวยการ
- อัพเดทล่าสุดเมือ: วันอาทิตย์, 17 มีนาคม 2567 16:13
- ฮิต: 11396
พ.ต.ท.เดชา แสนสุข
สว.ฝอ.ภ.จว.สมุทรปราการ(ฝอ.๗)
๗ ฝ่ายอำนวยการ ๗ มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานคดีและวินัย การรับคำร้องเรียนข้าราชการตำรวจว่ากระทำผิดวินัย การพัฒนา ตรวจสอบ กลั่นกรอง วิเคราะห์ ให้ข้อเสนอแนะข้อพิจารณาเกี่ยวกับด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง สำนวนการสอบสวนคดีอาญาที่อยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรจังหวัด โดยปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
๗.๑ งานธุรการและงานสารบรรณ รวมทั้งจัดทำสถิติงานเข้า- ออกของฝ่ายอำนวยการ ๗
๗.๒ รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับคำร้องเรียนที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเรื่องที่กล่าวหาข้าราชการตำรวจในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรจังหวัดว่ากระทำผิดวินัย ไม่ว่าจะมาร้องเรียนด้วยตนเองหรือร้องเรียนทางจดหมาย เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์
สื่อสารสนเทศอื่นใด หรือหน่วยงานอื่นที่ส่งมา แล้วดำเนินการไปตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
๗.๓ จัดทำสถิติการร้องเรียนข้าราชการตำรวจที่กระทำผิดวินัยหรือกระทำผิดคดีอาญา โดยจัดแยกเป็นประเภทเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาเรื่องส่วนตัว และรายงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๗.๔ พิจารณาและตรวจสำนวนคดีอาญาทุกประเภทที่ข้าราชการตำรวจต้องหาคดีอาญาและหรือผู้บังคับบัญชาตรวจพบเป็นข้อบกพร่อง ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพื่อประกอบการพิจารณาทางวินัย
๗.๕ พิจารณาและตรวจสอบ รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงในสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริงและสำนวนการสอบสวน พิจารณาทางวินัย รวมทั้งกรณีที่ไม่มีการสืบสวนหรือสอบสวนเนื่องจากเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กฎหมายกำหนด แล้วมีความเห็นเสนอผู้มีอำนาจเพื่อสั่งการหรือลงโทษตามความเหมาะสม
๗.๖ พิจารณาและตรวจสอบเกี่ยวกับการร้องทุกข์และการอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ เพื่อมีความเห็นเสนอผู้มีอำนาจ
๗.๗ ดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการตำรวจกระทำความผิดทางอาญาให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการดำเนินการทางวินัย
๗.๘ ดำเนินการเกี่ยวการเสนอพักราชการหรือการให้ออกจากราชการไว้ก่อนของข้าราชการตำรวจที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดทางอาญา ตลอดจนการรายงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
๗.๙ จัดการขอแต่งตั้งพนักงานอัยการให้เป็นทนายแก้ต่างคดี กรณีข้าราชการตำรวจ
ถูกฟ้องคดีเนื่องมาจากปฏิบัติการตามหน้าที่
๗.๑๐ ติดตามผลทางคดีและทางวินัย ตลอดจนคำพิพากษาชั้นศาลที่เกี่ยวกับข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัด เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการแจ้งเปลี่ยนแปลงสถานภาพของข้าราชการตำรวจที่เกิดจากการดำเนินการทางวินัย
๗.๑๑ กำหนดหลักเกณฑ์ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง รวมทั้งมาตรการที่เหมาะสมในการควบคุม ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัด ให้มีความประพฤติอยู่ในกรอบวินัยตำรวจ
๗.๑๒ ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ เสนอแนะในการแก้ไขและพัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ตลอดจนประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีในส่วนที่เกี่ยวข้อง และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๗.๑๓ ดำเนินการให้คำปรึกษา แนะนำ พิจารณา วินิจฉัย ตีความปัญหาข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับตำรวจภูธรจังหวัด
๗.๑๔ ควบคุม พิจารณา และวินิจฉัยสำนวนคดีแพ่ง ตรวจสอบพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินคดีแพ่งกรณีที่ตำรวจภูธรจังหวัดเป็นโจทก์หรือจำเลย ตลอดจนการพิจารณาปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการทางแพ่ง
๗.๑๕ เป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รวมทั้งดำเนินการตามกระบวนการทางอาญา ทางแพ่ง และทางปกครอง กรณีข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดและหน่วยงานถูกฟ้องในเหตุ
ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
๗.๑๖ ดำเนินการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม และจรรยาบรรณของตำรวจ
๗.๑๗ การดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
๗.๑๘ งานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมงานสอบสวน
๗.๑๙ งานดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
๗.๒๐ ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
๗.๒๑ งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย